
นายธงไชย แพรรังสี
ประธานกรรมการบริหาร
นายชัชวัฎ ภู่พันธาภักดิ์
กรรมการบริหาร
นางสาวอุทัยวรรณ เรืองโรจน์วิริยา
กรรมการบริหาร
นางสาววนิดา ดาราฉาย
กรรมการบริหาร
นางสาวจันทร์จิรา แพรรังสี
กรรมการบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ศึกษาในรายละเอียด และกลั่นกรองงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยเฉพาะในรายละเอียดเชิงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของคณะกรรมการบริษัทฯ ตลอดจนให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯได้กำหนดไว้ หรือปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบหลักดังต่อไปนี้
-
1
กำหนดนโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ และโครงสร้างการบริหารงานหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯที่กำหนดให้สอดคล้องและสนับสนุนต่อสภาพเศรษฐกิจและการแข่งขัน ที่ได้กำหนดและแถลงไว้ต่อผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯเห็นชอบ
-
2
กำหนดแผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจการบริหารต่างๆ ของบริษัทฯเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯเห็นชอบ
-
3
กำหนดโครงสร้างองค์กรและการบริหาร โดยให้ครอบคลุมถึงภาพรวมในการคัดเลือก การฝึกอบรม การว่าจ้าง การเลิกจ้างพนักงานของบริษัทฯ
-
4
ตรวจสอบ ติดตามนโยบาย และแนวทางการบริหารงานต่างๆ ของบริษัทฯที่กำหนดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อสภาพการดำเนินธุรกิจ
-
5
ตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯที่กำหนด ให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้รับอนุมัติไว้
-
6
ดำเนินการจัดทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินในการเปิดบัญชี กู้ยืม จำนำ จำนอง ค้ำประกัน และการอื่น รวมถึงการซื้อขายและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินใดๆ ตามวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ ภายใต้อำนาจวงเงินแต่ละรายการให้เป็นไปตามอำนาจอนุมัติดำเนินการของบริษัทฯ
-
7
ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯมอบหมายเป็นคราวๆ ไป
ทั้งนี้การมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้นให้แก่คณะกรรมการบริหารนั้น จะไม่รวมถึงการมอบอำนาจในการอนุมัติรายการใดที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามข้อบังคับของบริษัทฯและตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด) กับบริษัทฯหรือบริษัทย่อย ซึ่งการอนุมัติรายการดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯพิจารณาต่อไป โดยกรรมการบริหารท่านนั้นและบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทในเรื่องดังกล่าว